ติดต่อเรา
สายด่วนได้ที่ : +66 88 003 5563

ทำความรู้จักกับมอเตอร์ไฟฟ้าเหนี่ยวนำ (Induction Motor)

             มอเตอร์ไฟฟ้า ประเภทเหนี่ยวนำ หรือมอเตอร์อินดักชั่น (Induction Motor) เป็นประเภทของมอเตอร์ที่มีการใช้งานกันอย่างแพร่หลาย ไม่ว่าจะเป็นที่อยู่อาศัย สำนักงาน หรือโรงงานอุตสาหกรรม เนื่องด้วยเหตุผลหลัก ๆ คือ มอเตอร์ไฟฟ้าแบบเหนี่ยวนำนั้นเป็นมอเตอร์ที่ใช้กระแสไฟฟ้าแบบสลับ ซึ่งมีความสะดวกต่อแหล่งจ่ายไฟฟ้าของประเทศไทยมากกว่า และยังใช้งานได้ง่าย เสียค่าบำรุงน้อยกว่าอีกด้วย

หลักการทำงานของมอเตอร์ไฟฟ้าแบบเหนี่ยวนำ

มอเตอร์ไฟฟ้า

             ภายในมอเตอร์จะมีส่วนประกอบหลัก ๆ อยู่ 4 อย่าง คือสเตเตอร์ (Stator) โรเตอร์ (Rotor) ลูกปืน (Bearing) และตัวสับเปลี่ยน (Commutator) โดยหลักการทำงานของมอเตอร์แบบเหนี่ยวนำคือ จะมีการส่งกระแสไฟฟ้าเข้าไปยังขดลวดภายในสเตเตอร์ เมื่อขดลวดภายในได้รับพลังงานไฟฟ้าก็จะสร้างสนามแม่เหล็กขึ้นมา ซึ่งสนามแม่เหล็กนี้ก็จะเคลื่อนที่แบบหมุนวนรอบ ๆ สเตเตอร์เพราะการเปลี่ยนแปลงของกระแสไฟฟ้าที่ส่งเข้าไปในแต่ละเฟส การเคลื่อนที่ของสนามแม่เหล็กนี้ก็จะไปตัดกับขดลวดตรงส่วนโรเตอร์หรือตัวหมุน ทำให้เกิดการเหนี่ยวนำของกระแสไฟฟ้าขึ้น ทำให้เกิดพลังงานกลขึ้นมาและสามารถนำไปใช้งานได้

มอเตอร์ไฟฟ้าแบบเหนี่ยวนำมีกี่ประเภท?

             มอเตอร์ไฟฟ้าแบบเหนี่ยวนำสามารถแบ่งได้ตามระบบไฟฟ้าที่ป้อนให้กับตัวมอเตอร์ไฟฟ้า ซึ่งมีอยู่ 2 ประเภท คือ แบบหนึ่งเฟส (Single Phase Motor) และแบบสามเฟส (Three Phase Motor)

มอเตอร์แบบหนึ่งเฟส (Single Phase Motor)

             มอเตอร์แบบหนึ่งเฟสส่วนใหญ่จะมีขนาดเล็ก มีขนาด 1 แรงม้าไปจนถึง 5 แรงม้า มีการพันขดลวดแม่เหล็กเป็นแบบหนึ่งเฟสเพื่อต่อเข้าระบบจ่ายไฟฟ้าแบบหนึ่งเฟส ด้วยการพันขดลวดแม่เหล็กแบบนี้ ทำให้สเตเตอร์ (Stator) ไม่สามารถเริ่มหมุนได้ด้วยตัวเอง จึงต้องมีขดลวดช่วยเดิน (Startup Winding) ในการช่วยทำให้สเตเตอร์เริ่มหมุน และทำให้มอเตอร์เริ่มทำงานเป็นวัฏจักรได้ โดยอุปกรณ์ที่ใช้มอเตอร์แบบหนึ่งเฟสส่วนใหญ่จะเป็นพัดลมหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็กชนิดต่าง ๆ

มอเตอร์แบบสามเฟส (Three Phase Motor)

             เป็นมอเตอร์ที่ได้รับความนิยมมากในภาคอุตสาหกรรม มีกำลังขนาด 1 แรงม้า ไปจนถึง 300 แรงม้าเลยทีเดียว โดยมอเตอร์ไฟฟ้าชนิดนี้จะมีการพันขดลวดแม่เหล็ก 3 ชุดตามจำนวนเฟส ต่อกับระบบจ่ายไฟแบบสามเฟส จึงทำให้เกิดเป็นแรงหมุนตามทิศทางของสนามแม่เหล็ก ทำให้สเตเตอร์เกิดการหมุน และทำให้โรเตอร์ (Rotor) หมุนตามไปด้วย จึงเป็นที่มาของคำว่ามอเตอร์เหนี่ยวนำ ส่วนใหญ่ในภาคอุตสาหกรรมจะมีอยู่ 3 ชนิด

  • มอเตอร์เหนี่ยวนำสามเฟสแบบกรงกระรอก (Squirel Cage Rotor Induction Motor)
  • มอเตอร์เหนี่ยวนำสามเฟสแบบพันขดลวด (Wound Rotor Induction Motor)
  • มอเตอร์แบบซิงโครนัส (Synchronous Motor)

โดยส่วนใหญ่อุปกรณ์ที่ใช้มอเตอร์แบบสามเฟสจะเป็นอุปกรณ์ที่ต้องการแรงหมุนหรือรอบหมุนที่สูง เช่น เครื่องจักรในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เป็นต้น

มอเตอร์ประสิทธิภาพสูง

การบำรุงรักษามอเตอร์ไฟฟ้าแบบเหนี่ยวนำ

             ถึงแม้ว่ามอเตอร์ไฟฟ้าจะใช้งานได้ง่าย บำรุงรักษาน้อยครั้ง แต่ก็ยังมีความจำเป็นที่จะต้องบำรุงรักษามอเตอร์ไฟฟ้าเป็นประจำ เพื่อยืดอายุการใช้งานให้ยาวนานยิ่งขึ้น และใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ซึ่งการดูแลรักษามอเตอร์ไฟฟ้าแบบเหนี่ยวนำนั้นควรจะทำอย่างถูกวิธีและดูแลเป็นพิเศษ โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรมที่มอเตอร์มีการทำงานอยู่ตลอดเวลา สำหรับการดูแลรักษาที่นิยมใช้กันนั้น แบ่งได้เป็น 2 แนวทาง

1. การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Prevenive Maintenance)

             เป็นการบำรุงรักษา ดูแลสภาพของมอเตอร์ โดยใช้การตรวจสอบ ซ่อมแซมในส่วนต่าง ๆ ตามเวลาที่มีการกำหนดไว้ เช่น ทุกการใช้งาน 2000 ชั่วโมงของมอเตอร์ให้มีการเช็คชิ้นส่วน เป็นต้น แต่ข้อเสียของวิธีนี้คือ อาจทำให้การทำงานเกิดความสะดุดได้ เพราะต้องใช้เวลาบำรุงรักษาทั้งที่มอเตอร์อาจจะยังทำงานได้ดีอยู่

2. การบำรุงรักษาเชิงคาดการณ์ (Predictive Maintenance)

             การบำรุงรักษาวิธีนี้อาจจะมีการใช้อุปกรณ์ในการเก็บข้อมูลต่าง ๆ แบบเรียลไทม์ เพื่อนำข้อมูลไปวิเคราะห์ดูแนวโน้มว่ามอเตอร์มีปัญหาในส่วนไหน และคาดเดาไว้ได้ล่วงหน้าว่าควรจะเข้าซ่อมบำรุงในช่วงเวลาไหน โดยปัจจุบันวิธีนี้ได้รับความนิยมสูง เพราะช่วยประหยัดต้นทุนและประหยัดเวลาในการหยุดเดินมอเตอร์โดยไม่จำเป็น

             จะเห็นได้ว่ามอเตอร์ไฟฟ้าแบบเหนี่ยวนำหรือมอเตอร์ไฟฟ้าอินดักชั่นนั้นสามารถนำไปใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ หากต้องการมอเตอร์คุณภาพดี ประสิทธิภาพสูง ต้อง บริษัท อัลติเมท คอมเมอร์เชียล จำกัด ตัวแทนจำหน่ายมอเตอร์ประสิทธิภาพสูง มอเตอร์ไฟฟ้า มอเตอร์กันระเบิด มอเตอร์ไฟฟ้าอุตสาหกรรม ด้วยมาตรฐาน IEC ทำให้มอเตอร์ของเราทุกตัวมีคุณภาพ ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง ทั้งภาครัฐและเอกชน และยินดีให้คำปรึกษาเรื่องมอเตอร์ชนิดต่าง ๆ โดยวิศวกรและผู้เชี่ยวชาญทางด้านมอเตอร์ไฟฟ้า

-------------------------------------------------------------------------

บทความที่เกี่ยวข้อง

มาทำความรู้จักกับมอเตอร์ไฟฟ้าประเภทต่างๆกัน

สาระน่ารู้เกี่ยวกับมอเตอร์ไฟฟ้า

ส่วนประกอบที่สำคัญของมอเตอร์ไฟฟ้า