มอเตอร์ไฟฟ้า (Electric Motor) เป็นอุปกรณ์ที่หลายท่านคงคุ้นเคยและเคยได้ยินมาอย่างเนิ่นนาน มอเตอร์ไฟฟ้าจะทำหน้าที่ในการเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าให้เป็นพลังงานกล แล้วส่งพลังงานกลนั้นไว้ใช้ในการขับเคลื่อนเครื่องจักร อุปกรณ์ไฟฟ้า ปั๊มน้ำ เครน หรือพัดลม โดยขนาดของมอเตอร์ไฟฟ้ามีขนาดแตกต่างกันตามกำลังของเครื่องใช้ไฟฟ้า หรืออุปกรณ์ที่ทำงาน ตัวอย่างเช่น เครื่องจักรในโรงงานอุตสาหกรรมก็จะมีกำลังแรงที่มากกว่ามอเตอร์ไฟฟ้าแบบทั่วๆ ไป แล้วส่วนสำคัญของมอเตอร์ไฟฟ้ามีอะไรบ้าง บทความนี้เราหาคำตอบมาให้แล้ว
ความเร็วของรอบมอเตอร์ไฟฟ้า มีความสำคัญสำหรับการเลือกซื้อมอเตอร์หรือเปลี่ยนมอเตอร์ ซึ่งหากเลือกมอเตอร์ที่มีความเร็วรอบไม่ต้องกับความต้องการของโหลด จะทำให้ตัวมอเตอร์ไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และจำนวนรอบของสนามแม่เหล็กหรือจำนวนรอบเพลาของมอเตอร์โดยทั่วไป จะหมุนได้ภายในเวลา 1 นาที (r/min) ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1. ความเร็วซิงโครนัส คือ ความเร็วของสนามแม่เหล็กที่หมุนในมอเตอร์ เช่น 1000 รอบ/นาที, 1500 รอบ/นาที, 3000 รอบ/นาที ที่ความถี่ไฟฟ้า 50 Hz.
2. ความเร็วของโรเตอร์ คือ ความเร็วของเพลา เช่น 930 รอบ/นาที, 1440 รอบ/นาที, 2870 รอบ/นาที ที่ความถี่ไฟฟ้า 50 Hz.
ในส่วนนี้จะเห็นได้ว่าความเร็วของโรเตอร์จะน้อยกว่าความเร็วของสนามแม่เหล็กเสมอ เพราะโรเตอร์หรือเพลาเกิดการหมุนได้โดยการเหนี่ยวนำของสนามแม่เหล็ก ทั้งนี้จำนวนขั้ว (poles) ของมอเตอร์ จะสามารถบอกค่าความเร็วรอบของซิงโครนัสได้ โดยคำนวณจากสมการ ความเร็วของซิงโครนัส = 120 x ความถี่ไฟฟ้า / จำนวนขั้วของมอเตอร์ ตัวอย่างเช่น
มอเตอร์ชนิด 2 ขั้ว จะมีความเร็วซิงโครนัส = 3000 รอบ/นาที
มอเตอร์ชนิด 4 ขั้ว จะมีความเร็วซิงโครนัส = 1500 รอบ/นาที
มอเตอร์ชนิด 6 ขั้ว จะมีความเร็วซิงโครนัส = 1000 รอบ/นาที
ข้อมูลรูปภาพ : https://www.ultimatecommercial.co.th
1. ซีลเพลา (Shaft seal)
2. ฝาหน้ามอเตอร์ (DE Endshield)
3. ลูกปืนหน้ามอเตอร์ (DE Bearing)
4. ซีลกันน้ำ (Wavy washer)
5. หน้าแปลนเล็ก Flang (ฺB14A)
6. โรเตอร์และเพลา (Rotor with shaft)
7. หน้าแปลนมาตรฐาน Flang (B5)
8. โครงมอเตอร์และขดลวดสเตเตอร์ภายใน (Stator housing with stator inside)
9. Circlip for fixing the bearing at NDE
10. ลูกปืนด้าน Non Drive end (NDE Bearing)
11. ฝาปิดท้ายมอเตอร์ (NDE Endshield)
12. พัดลมระบายความร้อน (Cooling fan)
13. ฝาครอบปิดพัดลม (Fan cover)
14. กล่องขั้วเข้าสายไฟมอเตอร์ (Terminal Box)
15. ขั้วต่อสายไฟมอเตอร์ (Terminal box with 6 pins and connection links)
16. ฝาครอบขั้วเข้าสายไฟ (Terminal box lid)
จากรายละเอียดส่วนประกอบเบื้องต้นเป็นรายละเอียดทั่วไปของมอเตอร์ไฟฟ้ามาตรฐานที่ใช้งานกันอย่างแพร่หลายในโงงานอุตสาหกรรม ซึ่งรูปแบบของมอเตอร์ไฟฟ้ามีการใช้งานที่หลากหลายเพราะฉะนั้นส่วนประกอบของมอเตอร์จึงแตกต่างกันออกไป ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับผู้ผลิตมอเตอร์ไฟฟ้าด้วย
เนื่องจากกำลังมอเตอร์ไฟฟ้าสามารถสร้างกำลังได้มากต่อการใช้งานหลายพัน หรือหลายหมื่นกิโลวัตต์ ทำให้มีผลต่อการใช้งานในอุตสาหกรรมที่จำเป็นต้องใช้พลังงานต่อเนื่องหลายชั่วโมงต่อกัน รวมถึงด้านเทคนิคที่ดีกว่าของมอเตอร์ไฟฟ้าประสิทธิภาพสูงกับมอเตอร์ไฟฟ้ามาตรฐาน
มอเตอร์ไฟฟ้าประสิทธิภาพสูงมีการลงทุนโดยรวมน้อยกว่ามอเตอร์แบบมาตรฐานเนื่องด้วยกำลังไฟฟ้า ชั่วโมงการทำงาน และค่าใช้จ่ายโดยรวมเมื่อคำนวณออกมาแล้วมีต้นทุนที่น้อยกว่ามอเตอร์ไฟฟ้าแบบธรรมดา ทำให้ในอุตสาหกรรมเลือกใช้มอเตอร์ไฟฟ้าประสิทธิภาพ เพื่อใช้แบบลงทุนระยะยาวและคุ้มค่าในการใช้งานนั่นเอง
บริษัท อัลติเมท คอมเมอร์เชียล จำกัด ตัวแทนจำหน่ายมอเตอร์ประสิทธิภาพสูง มอเตอร์กันระเบิด มอเตอร์ Marathon มอเตอร์ไฟฟ้าอุตสาหกรรม จำหน่ายมอเตอร์มาตรฐาน IEC ด้วยคุณภาพและลักษณะเด่นของผลิตภัณฑ์ ทำให้เราได้รับการยอมรับเรื่องมอเตอร์ มอเตอร์ไฟฟ้าอย่างก้าวขวาง ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เรายินดีให้คำปรึกษาโดยทีมวิศวกรและช่างผู้ชำนาญ ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่เราจำหน่ายมีฉลากประสิทธิภาพสูงทุกรุ่น นอกจากนี้ยังมีผลิตภัณฑ์มอเตอร์กันระเบิดสำหรับการใช้งานในพื้นที่อันตราย และมอเตอร์ไฟฟ้าประสิทธิภาพสูงรูปแบบอื่นๆอีกมากมาย